Colour Strength and Colour Fastness Properties of Cotton Knitted Fabric Printed by Natural Indigo dye by Using Discharge Printing Technique

สมชาย อุดร, วันเพ็ญ ปนคำ

Abstract


งานวิจัยนี้ศึกษาผลของการติดสีโดยดูที่ค่าความเข้มของสี (colour strength) และความคงทนของสี (colour fastness) ของผ้าฝ้ายถักที่ผ่านกระบวนการพิมพ์สีครามโดยใช้เทคนิคการพิมพ์แบบลอกสีลงบนผ้าฝ้ายถักที่ผ่านการย้อมสีพื้นด้วยสีรีแอคทีฟกลุ่มไวนิลซัลโฟน ซึ่งสามารถถูกกัดทำลายได้ด้วยสารรีดิวซ์ ซึ่งผลการศึกษาพบว่าสามารถใช้สีครามจากธรรมชาติพิมพ์ลอกสีพื้นได้ดี ที่ความเข้มข้นร้อยละ 25 (on weight of printing past ; % o.w.p.) ซึ่งจะให้ค่าความเข้มสีได้มากที่สุด สมบัติความคงทนของสีต่อการซักล้างอยู่ในระดับ 3-4 (ปานกลาง-ดี) สมบัติความคงทนของสีต่อการขัดถูกอยู่ในระดับ 4-5 (ดี-ดีมาก) สมบัติความคงทนของสีต่อเหงื่ออยู่ในระดับ 3-4 (ปานกลาง-ดี) ในสภาวะกรดและด่าง และสมบัติความคงทนของสีต่อแสงอยู่ในระดับ 4 (ดี)

Keywords


Printing, Natural Indigo, Discharge Printing, Cotton Knitted Fabric, Colour Strength, Colour Fastness

Full Text:

PDF

References


ศันสนีย์ แวนประเสริฐ. สภาวะที่เหมาะสมสำหรับการย้อมผ้าไหมด้วยครามธรรมชาติ. วิทยานิพนธ์สำหรับปริญญาคหกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2552.

งามจิตร ถวัลยวิชชจิต. การพิมพ์แบบดิสชาร์จ. ข่าวสารเคมีสิ่งทอกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. ปีที่6 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน; 2533.

นฤมล ศิริทรงธรรม. ข่าวสารเคมีสิ่งทอ กองอุตสาหกรรมกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. ปีที่6 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน; 2533.

ศิรินันท์ ห่อสมบัติ. สภาวะที่เหมาะสมในการย้อมผ้าฝ้ายด้วยครามธรรมชาติและโซเดียมไฮโดรซัลไฟท์. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2543.

รัตนพล มงคลรัตนาสิทธิ์. วิธีการทดสอบความคงทนของสีบนวัสดุสิ่งทอตามมาตรฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ; 2549.

Leslie W C Miles. Textile Printing (Revise 2nd Edition)”, United Kingdom, 2003: 196-207